การรับน้อง สิ่งสะท้อนทัศนคติเยาวชน
“คุณอยู่คณะอะไร” “เต็มใจมาไหม”
ความหมายของการรับน้องนั้น รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ ในการเสวนาว่า “การรับน้องเป็นการส่งมอบความสุขจากผู้ที่มาอยู่ก่อน สู่ผู้ที่มาอยู่ใหม่ ” ซึ่งก็คือ เป็นการสืบทอดความรู้สึกอันดีต่าง ๆ ของรุ่นพี่สู่รุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาอยู่ใหม่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ สมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ โดยเฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัยที่กว้างขวางด้วยแล้ว การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน พี่น้อง ร่วมสถาบันเดียวกัน ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แต่ละบุคคลมีความเชื่อมโยงและกว้างขวางมากขึ้นด้วย และจากการที่ภายในมหาวิทยาลัย ผู้คนที่มาอยู่ก็ล้วนมาจากพื้นที่ วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งภาษาที่แตกต่างกัน การได้รู้จักเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีต่อบุคคลนั้นในภายภาคหน้า จึงนับได้ว่า ประเพณีรับน้อง คือปราการด่านแรกที่ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าขาดกิจกรรมส่วนนี้ไป ก็อาจเป็นการยากที่จะสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักเพื่อนร่วมคณะ หรือสถาบันเดียวกัน จนบางครั้งอาจถึงขั้นต่างคนต่างอยู่ ไม่จำเป็นต้องสนใจกันเลยก็เป็นได้
ประโยชน์ของกิจกรมรับน้อง
กิจกรรมรับน้องนอกจากมีความหมายต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย การรับน้องยังมีความหมายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมได้และจากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้รูปแบบอาจต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อให้เหมาะสมเข้ากับยุคสมัย แต่ในทรรศนะของจักรพลมองว่า การรับน้องเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความสามัคคี ความแน่นแฟ้น กลมเกลียวเท่านั้น แต่ยังมีความอบอุ่นถ่ายทอดความภาคภูมิใจความเป็นนักศึกษาด้วยด้วย
อีกกิจกรรมที่ส่งเสริมความรักความผูกพันสามัคคีคือ สอนน้องร้องเพลงสถาบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สืบสานต่อเนื่องมาโดยปีนี้เข้มข้นมากขึ้น ส่งเสริมการร้องให้ถูกต้องและเข้าใจในความหมายของเนื้อเพลง จากนั้นส่งต่อให้กับคณะซึ่งแต่ละคณะจะสร้างสรรค์กิจกรรมรับน้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบสานต่อกันมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น